วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศิษย์สุวรรณโคมคำ


จุดมุ่งหมายของwebนี้คือการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอาศัยความรู้และความเข้าใจของกลุ่มศิษย์ฯที่ผ่านการเรียนรู้วิชชา สัตตาภิธรรมและกรรมจักร โดยยึดหลักคำสอนดำเนินตามหลักวิถีแห่งพุทธศาสนา เรียนรู้การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อันมีวัฏฏะสงสารเป็นบ่วงโซ่ สร้างวงจรชีวิตที่เกิดแล้วตายวนเวียนไปเกิดใหม่ในภพชาติที่ไม่รู้จบ นิพพาน จึงเป็นทางออกเดียวที่เราจะหลุดพ้นบ่วงโซ่ของการไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งวิชาที่สอนให้ศิษย์สุวรรณโคมคำรู้หน้าที่ เรียนรู้กรรมที่แบ่งออก เป็นกุศลกรรมและอกุศล คือกรรมดีและกรรมชั่วโดยกรรมนั้นเกิดขึ้นได้สามทาง ทางกาย วาจา ใจ เพื่อเป็นการตัดวงจรชาตะชีวิตชาวโลกชาวพุทธทุกท่าน มีหน้าที่เร่งเรียนรู้เรื่องของกฏแห่งกรรม โดยผ่านการรู้ชีวิตตน(กายนคร)ว่าช่วงชีวิตตนที่ผ่านมานั้น สุข ทุกข์เช่นไรและระยะเวลาใดที่เราประสพทุกข์อย่างแสนยากลำบาก เศร้า ไม่สบายกายใจ หวนคิดคำนึงและโทษสิ่งที่ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ ยึดติดลาภ ยศ สรรเสริญ สุขที่เรียกว่าสุขภายนอก ควรฝึกให้ละทิ้งและรับรู้ทันอารมณ์(EMOTION) โดยเรียนรู้จากวิชชาที่สอนสืบต่อกันมาในรุ่นต่อรุ่น ครูต่อศิษย์ พี่ต่อน้อง หนุนเนื่องตามมา เรียนรู้ผ่านทางโหราศาสตร์(แนวพุทธ)ควบคู่ฝึกกสิณกรรมฐาน เหตุและปัจจัยทุกข์ ความสุขสมในชีวิตความสมหวังในสิ่งตั้งใจ ความปรารถนาที่ได้มาล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้ชีวิตคนเราแตกต่างไป พี่น้องพ่อแม่เดียวกันได้รับสุขทุกข์ต่างกัน แม้แต่คู่แฝดยังมีผลบุญของความสุขและทุกข์ไม่เหมือนกันทุกเรื่องไป ที่มีการแต่งกายเหมือนกัน พ่อแม่หยิบยื่นความรักให้พร้อมกันก็ไม่ได้มีความรู้สึกในความสุขทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะผลบุญกุศลนั้นไม่เท่ากันจากเหตุของเจตนาทั้งผู้ให้และผู้รับทาง กาย วาจา ใจ ทั้งสามทางนี้ทำหน้าที่ในการสืบทอดกรรม ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมย่อมเป็นช่องทางเหตุปัจจัย อนึ่งทางกาย วาจา ใจนั้น ย่อมมีสภาวะของผู้ให้และผู้รับ แม้ผู้ให้จะยินดีให้ทั้งสามทางด้วยกุศลกรรมแต่ผู้รับนั้นไม่ตั้งจิตทั้งสามทาง เมีอผลกุศลทางใดที่ทางผู้ให้ส่งผ่านมานั้นก็ขึ้นอยู่ที่ผู้รับนั้นจะรับได้ทั้งสามทางหรือไม่ และในทางกลับกันเมื่อผู้ให้ไม่ตั้งจิตเป็นกุศลทางใดทางหนึ่งแล้วกุศลผลบุญที่ผู้รับจะได้รับก็ได้ไม่เต็มที่อันควรตามสภาวะแห่งจิตขณะนั้น

ทางสายกลางทางดำเนินชีวิตที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ มิใช่ทางเลือกแต่เป็นทางที่ทุกคนควรนำไปปฏิบัติ ชาตะชีวิตของแต่ละคนมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่เลือกที่เกิดมาฐานะมั่งมีเงินทองหรือยากแค้นแสนเข็น ก็ยังต้องเผชิญกับความทุกข์และสุขคละเคล้ากันไป ทุกคนที่เกิดบนโลกใบนี้ล้วนตกอยู่ในวงจรชีวิตที่เรียกว่า"ปฏิจจสมุปบาท"อันมีวัฏฏสงสารเป็นบ่อเกิดคือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบอนุโลม

เพราะอวิชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส

อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

และทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลม
(พิจารณการดับของทุกข์เป็นลำดับขั้น)

เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้
เพราะสังขารดับ จึงดับวิญญาณได้
เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้
เพราะนามรูปดับ จึงดับสฬายตนะได้
เพราะสฬายตะดับ จึงดับผัสสะได้
เพราะผัสสะดับ จึงดับเวทนาได้
เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้
เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปทานได้
เพราะอุปทานดับ จึงดับภพได้
เพราะภพดับ จึงดับชาติได้
เพราะชาติดับ จึงดับชารมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้


อย่างนี้เป็นความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

(พระสุตันตปิฏก เล่ม๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อ ๒๔๔ หน้า๑๖๔)